องคมนตรีแถลงจัดงานโครงการหลวง 2567 และประชุมวิชาการนานาชาติ From AD to SDGs : Empowering AD to Address the Global Challenges

องคมนตรีแถลงข่าวเตรียมจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติและงานโครงการหลวง 2567 พร้อมเชิญชวนประชาชนชาวเชียงใหม่ ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ในโอกาสที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติและงาน”โครงการหลวง 2567″ ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม 2567

เชียงใหม่ 21 พ.ย. – ที่ห้องเรือนกระจก อาคารริมน้ำ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี เลขาธิการและประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวงเป็นประธานและร่วมแถลงข่าว งานประชุมวิชาการนานาชาติ และ งาน “โครงการหลวง 2567″ในฐานะ ประธานกรรมการประชุมวิชาการนานาชาติและ
ประธานกรรมการอำนวยการจัดงานโครงการหลวง 2567 พร้อมด้วยศาสตราจารย์เกียรติคุณ พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ กรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง
ในฐานะ ประธานคณะกรรมการฝ่ายวิชาการและจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ในฐานะ ประธานกรรมการฝ่ายนิทรรศการงานโครงการหลวง 2567 และนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ในฐานะ ประธานกรรมการฝ่ายสนับสนุนและส่งเสริมงานโครงการหลวง 2567

โดยองคมนตรีได้กล่าวถึงภาพรวมการพัฒนาพื้นที่สูงของโครงการหลวงที่มีต่อชาวเขา ขาวเรา และชาวโลก วัตถุประสงค์และความสำคัญของงานประชุมวิชาการนานาชาติ และงาน“โครงการหลวง 2567”
ด้วยในปีพุทธศักราช 2567 เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์นายกกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิโครงการหลวงและยังเป็นวาระครบรอบการดำเนินงาน 55 ปี ของการพัฒนาเลือกที่เลือกที่เรียกว่า
โครงการหลวงโมเดล ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างทั่วถึงแก่กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงทางภาคเหนือ การดำเนินงานอย่างยาวนานกว่าครึ่งทศวรรษได้ก่อเกิดคุณปการมากมายต่อชาวไทยและประเทศชาติ ในโอกาสสำคัญนี้ มูลนิธิโครงการหลวงได้มุ่งหมายที่จะนำผลสำเร็จจากการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่สงดังด้วยรูปแบบการพัฒนาทางเลือกแบบโครงการหลวง เผยแพร่ให้เป็นที่รับรู้และเกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางรวมทั้งใช้โอกาสเพื่อประสานพลังความร่วมมือกับหน่วยงานที่ดำเนินการพัฒนาพื้นที่สูงในประเทศไทยและนานานาประเทศ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการรับมือกับความท้าทายของโลกปัจจุบันและอนาคต ทั้งด้านสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงภัยพิบัติ สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยและนานาประเทศสามารถเดินทางไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ทั้ง 17 ข้อ
โดยการประชุมวิชาการนานานาชาติ The Royal Project International Conference : From Alternative Development to Sustainable Development Goals: Empowering Alternative Development to Address Global Challenees ( จากการพัฒนาทางเลือกมุ่งสู่การพัฒนาที่ยังยืน: เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการพัฒนาทางเลือก
เพื่อรับมือการท้าทายทุกประเด็นของโลก) มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 4 ธันวาคม 2567 ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชืองใหม่ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากนานาประเทศ ตอบรับเข้าร่วมการประชุมแล้วรวม 23 ประเทศ โดยทาง นาง กาดา ฟาติ วาลี ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานสหประชาชาชาติ ณ กรุงเวียนนา (Ms. Ghada Fathi Waly, UNODC Executive Director) ได้ให้เกียรติเดินทางมาร่วมประชุมและบรรยายในหัวข้อ มุมมองของ UNODC
กับรูปแบบการพัฒนาทางเลือกที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ นอกจากนี้ยังนี้ยังมี หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ ร่วมให้ข้อมูลตัวอย่างของ ผลการพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรในพื้นที่คอยตุง 36 ปี และนายปิติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา อดีดปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บรรยายในหัวข้อการขับเคลื่อนการเชื่อมโยงนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งการบอกเล่าถึงสิ่งที่ได้รับของเกษตรกรจากพื้นที่พัฒนาของโครงการหลวง แม่ฟ้าหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) รวมทั้งเกษตรกรจากประเทศเมียนมา สาธารณรัฐประชาชนลาว โดยมีผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาในประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมอีกกว่า 300 คน ผู้ร่วมประชุมจะได้เดินทางไปเรียนรู้ในพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จในแง่มมที่แตกต่างในความสำเร็จที่เกิดจึ้นในพื้นที่โครงการหลวงเช่น ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแห่งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ดำเนินงานมาเป็นปีที่ 8 ประสบความสำเร็จชัดเจนในการกำจัดฝิ่นบนพื้นที่ฝิ่นผืนสุดท้ายของประเทศไทย คนในชุมชนได้รับการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นแก่การดำรงชีพ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ สถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวงต้นแบบการพลิกฟื้นจากเขาหัวโล้น สู่พื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์และยังเป็นสถานีวิจัยพืชเมืองหนาวที่สำคัญของประเทศไทยที่สร้างผลงานวิจัยพันธุ์พืชเขตหนาวที่ปลูกทั่วไปในประเทศขณะนี้
และยังมีพื้นที่ขยายผลการดำเนินงานแบบโครงการหลวง คือ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวงป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นตัวอย่างของชุมชนไม้มีค่า ดูแลรักษา สร้างรายได้
คนในชุมชนป่าแป๋ มีการประกอบอาชีพที่สมดุลและเกื้อหนุนการอยู่ร่วมกันป่าและสามารถต่อยอดป่าเมี่ยงและป่าชุมชนไปสู่การสร้างรายได้และการสร้างคาร์บอนเครดิต การันตีโดยรางวัลเลิศรัฐ ระดับดีเด่น ประจำปี 2564 ประเภทสัมฤทธิ์ผล ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย

ในช่วงเวลาและสถานที่เดียวกันนี้ มูลนิธิโครงการหลวงยังมีจัดงานโครงการหลวง 2567 ซึ่งเป็นงานประจำปีของมูลนิธิโครงการหลวงที่เชียงใหม่ โดยปีนี้การจัดงานขยายเวลาขึ้นเป็น 10 วัน นับตั้งแต่วันที่ 1-10 ธันวาคม 2567 ภายใต้แนวคิด “Hats on Hills ห่มเขาด้วยเงาไม้ ไต้ร่มพระบารมี 55 ปี โครงการหลวง”
ผลจากการพัฒนาพื้นที่สูงจากอดีตที่มีความทุรกันตาร แร้นแค้น ด้วยพระบารมีปกเกล้า ชุมชนที่สูงจึงมีชีวิตใหม่ที่มีสุข ร่มเย็น ขุนเขาฟื้นความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารสำคัญของประเทศ ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของทั้งสองรัชกาล หลักการพัฒนาทางเลือกบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนนี้ได้แก้ไขปัญหาความยากจนและหิวโหย ปัญหายาเสพติด ตลอดจนสามารถพัฒนาชุมชนบนที่สูงไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืน จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นแนวปฏิบัติตัวอย่างของการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม นำสู่ความเป็นอยู่ที่ดี มีความปลอดภัย มั่นคงและความเท่าเทียมกัน
การจัดงานประจำปีของโครงการหลวงได้เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2523 ณ สวนอัมพร ในชื่องานเกษตรหลวง จากนั้นโครงการหลวงจึงได้มีการจัดงานประจำปี ๆ ละ 2 ครั้ง ที่จังหวัดเชียงใหม่ และกรุงเทพฯ โดยงานที่จังหวัดเชียงไหมได้เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อพุทธศักราข 2532 และจัดต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้ เป็นครั้งที่ 36
กิจกรรมที่น่าสนใจในงาน ประกอบด้วย นิทรรศการ ผลสัมฤทฤทธิ์การพัฒนาพื้นที่สูงของประเทศไทย : สู่ความท้าทายโลก มีทั้งสิ้น 6 โชน ประกอบด้วย โซนปฐมบท การพัฒนาทางเลือกที่ยั่งยืน :พระราชปณิธาน ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลก โขนสืบสานพระราชปณิธาน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สืบสาน รักษาต่อยอด งานโครงการหลวง สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โซนขับเคลื่อนการขยายผล บนพลังประสานความร่วมมือ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โซน 55 ปี องค์ความรู้และนวัตกรรม นำการพัฒนา โชนประสานพลังความร่วมมือ คือ เส้นทางความสำเร็จจากอ่างขาง สู่เลอตอ และ โซนชุมชนอยู่ดี มีสุข สิ่งแวดล้อมยั่งยื่น พร้อมการจำลองห่มเขาด้วยเงาไม้ ภายใต้ผลสัมฤทธิ์ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตของชนเผ่า ระบบเกษตรที่ดีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการจำลองโรงเรือน ระบบน้ำ
พร้อมจัดแสดงพันธุ์พืชเด่นที่สร้างรายได้ เป็นต้น สำหรับการจัดตกแต่งประดับประดาพื้นที่มีการออกแบบต่าง ๆ อย่างสวยงามด้วยพืชผลเขตหนาว สอดแทรกความรู้ ความสนุกเพลิดเพลิน ผ่านกิจกรรมฐานเรียนรู้จากหน่วยงานสนับสนุน ได้แก่ สุขศาลาโครงการหลวง โดย มูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: ให้บริการตรวจสุขภาพทั่วไป ให้ความรู้คำแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR.) หน่วยทันตกรรมพระราชทาน คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมให้บริการการตรวจและให้คำแนะนะนำ ในการดูแลสุขภาพช่องปาก โรงพยาบาลสวนปรุง / สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ / ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1:
นำรถโมบายเพื่อนใจ มาให้บริการตรวจประเมินภาวะสมดุลกายใจ พร้อมการเสวนาในหัวข้อเกี่ยวกับสุขภาพจิด วันที่ 5 ธันวาคม หัวข้อ “Mind Gym : ออกกำลังใจอย่างไรให้แข็งแรง”

สำหรับผลิตผล ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่เกิดจากคุณูปการของโครงการหลวงต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ ได้ส่งตรงจากดอยมามากกว่า 800 รายการ และปีนี้โครงการหลวงยังจัดมุมทดสอบผลิตผลใหม่ที่อยู่ระหว่างการวิจัย เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้ชิมและให้ความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาพันธุ์ และการส่งเสริมแก่เกษตรกร ผลิตผลใหม่เหล่านี้ ได้แก่ แตงกวามินิบอล พริกหวานรับประทานสด รวมทั้งผัก และผลไม้พระราชทานชนิดต่าง ๆ ร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์โครงการหลวงจากชาวดอย อิ่มอร่อยไปกับอาหารหลากหลายเมนู ดูนิทรรศการ ชมฐานเรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา ในงานโครงการหลวง 2567 วันที่ 1-10 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 20.00 น. ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่